ถึงเวลากลับมาสู่ลำโพงวางหิ้ง กับ ProAc Studio 118

ถึงเวลากลับมาสู่ลำโพงวางหิ้ง กับ ProAc Studio 118 



เกรินนำ 
หลังจากที่ผมเข้าไปสู่ยุทธภพของลำโพงวางพื้นหลังจากเปลี่ยนจาก ProAc D1 ไปใช้ลำโพงตั้งพื้น ประมาณ 3-4 ปี ไล่เลียงจาก KEF R500 => ProAc Studio 140 MK2 วันนี้ก็ถึงเวลาที่ผมกลับมาสู่การเล่นลำโพงวางหิ้งอีกครั้งกับ ProAc Stu.118 รุ่นใหม่ล่าสุด จากขุนกวีเสียงธรรมชาติ นามว่า ProAc






ทำไมถึงกลับไปเล่นลำโพงวางหิ้ง
หลายๆคนคงสงสัยว่าทำไมเล่นลำโพงตั้งพื้นแล้ว ถึงกลับไปเล่นลำโพงวางหิ้งอีกครั้ง ผมจะบรรยายให้ฟัง ดังนี้

1. เบสล้น 
เนื่องจากชุดเครื่องเสียงของผม ตั้งอยู่ภายในห้องนอนที่มีขนาดเพียง 4 x 3 เมตร ส่งผลให้เสียงเบสมันล้นห้อง สั่นคราง ไร้คุณภาพ ครั้งเมื่อจะพยายามลดเสียงเบสด้วยการใช้ฟองน้ำอุดท่อระบาย ก็ทำให้ทรวดทรงของเสียงกลางแหลม ลดขนาดความอิ่มอ้วนลงไปด้วย

2. จัดวางได้ง่ายกว่า
ProAc Studio 118 ตัวนี้สามารถจัดวางได้อย่างยืดหยุ่น เนื่องจากท่อระบายเบสออกแบบไว้ด้านหน้า จึงทำให้เราสามารถจัดวางลำโพงได้ชิดพนังตามที่ต้องการ (แต่แม้ท่อระบายเบสจะอยู่ด้านหน้า แต่ก็ควรมีระยะห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 15-20 ซม. เพื่อการสร้างสนามเสียงในมิติด้านลึก)


3. Sound Stage ที่เหนือกว่า
ลำโพงวางหิ้งมักจะสามารถสร้างมิติทรวดทรง และ Sound Stage ที่เหนือกว่าลำโพงตั้งพื้น ที่ด้วยขนาดพื้นผิวและการแผ่กระจายของแรงสั่นสะเทือนของผิวตู้ที่น้อยกว่า ส่งผลให้มิติทรวดทรงของวงดนตรี สวยงามและมีมิติมากกว่าลำโพงตั้งพื้นเป็นอย่างมาก

4. พกพาง่าย 
ในยามที่ต้องเดินทางไปอยู่ต่างจังหวัด หรือต้องย้ายที่พักอาศัยไปอยู่ในคอนโด เราก็สามารถพกพาลำโพงตัวเก่งไปไหนต่อไหนได้ง่ายกว่าลำโพงวางพื้น ด้วยน้ำหนักของเจ้า Studio 118 ประมาณ 10 กว่ากิโลต่อข้าง มันย่อมยกไปไหนต่อไหนได้ง่ายกว่าลำโพงตั้งพื้นที่หนักเกือบ 30 กิโลต่อข้างแน่นอน


อ่านถึงตรงนี้แล้วสาวกลำโพงวางพื้นจะน้อยใจ นอกจากข้อดีของลำโพงวางหิ้งที่ผมกล่าวมาข้างต้นนั้น ผมขอกล่าวถึงข้อดีของลำโพงตั้งพื้นบ้างแล้วกัน ดังนี้

1. กินวัตต์น้อยกว่า
ถ้าใครคิดว่าลำโพงตั้งพื้นกินวัตต์มากกว่าลำโพงวางหิ้งล่ะก็ คิดผิดมหันต์ครับ เพราะลำโพงตั้งพื้นส่วนใหญ่มักจะมีความไวสูงกว่าลำโพงวางหิ้ง ทำให้ในระดับเสียงเดียวกันของแอมป์ ลำโพงวางพื้นจะให้เสียงที่ครบถ้วน เต็มอารมณ์ และเต็มห้องกว่า

2. เปิดได้ดังกว่า
ด้วยปริมาตรอากาศภายในตู้ที่มากกว่า และจำนวนไดรเวอร์ที่มากกว่า ส่งผลให้ลำโพงวางพื้นสามารถเปิดได้ดังสะใจกว่าแบบไม่ต้องสงสัย

3. เบสหนักแน่นกว่า 
ในแง่ของความลึกและคุณภาพ ลำโพงตั้งพื้นต้องอาศัยความพิธีพิถัณฑ์ในการจัดวางกว่าลำโพงวางหิ้ง แต่หากเราสามารถจัดวางได้อย่างเหมาะสมแล้วล่ะก็ปริมาณและคุณภาพของเสียงเบส มันจะเมามันส์ สะใจ จนลืมลำโพงวางหิ้งไปเลยทีเดียว

4. สเกลเสียงที่ยิ่งใหญ่ อลังการ 
ลำโพงตั้งพื้นเหมาะสมต่อการฟังเพลงที่มีสเกลเสียงขนาดใหญ่โต เช่น เพลงออเครตร้า ที่มักจะเป็นข้อจำกัดของลำโพงวางหิ้งที่ไม่สามารถฟังเพลงสเกลใหญ่ๆ ได้อลังการเท่าลำโพงตั้งพื้น



ทำไมต้อง Studio Series 

ProAc ตัวนี้อยู่ใน Series Studio ซึ่งจัดว่าเป็น Series ที่เล่นง่าย ไม่เล่นตัว มากที่สุดของ ProAc แม้ว่าสมรรถนะของมันจะไม่สูงอย่าง Series Response  แต่มันก็มีเสน่ห์สไตล์ ProAc อย่างครบถ้วน  และมันทำให้ผมได้รู้ว่า หากเราเล่นแบบกลางๆแบบผม เช่น ฟังเพลงจาก Youtube MP3 หรือแผ่น CD ถูกๆ เจ้า ProAc Studio มันถ่ายทอดแบบไม่ฟ้องนัก ทำให้ฟังได้ลื่นไหลและสบายใจกว่า  (เล่าประสบการณ์ตรง คือ ผมเคยใช้ ProAc Response D1 และผมซื้อแผ่น CD ของอ๊อฟ ปองศักดิ์มาฟัง เชื่อมั้ยครับ ว่าผมไม่สามารถฟังได้เลย เพราะมันฟ้องกระทั้ง Bit Rate ของเพลงที่ต่ำมาก ทำให้เสียงแหลมแตก หยาบกร้าน เพราะเจ้า D1 มันฟ้องแบบหมดจด ในขณะที่ผมนำมาเปิดฟังกับ Studio 140 MK2 กลับฟังได้อย่างต่อเนื่อง ลื่นไหล กว่าเยอะเลย  จึงเป็นที่มาว่าหากงบไม่ถึง หรือความพิถีพิถัณฑ์ไม่มากพอ ขอให้เล่น Studio Series จะเล่นได้ง่ายกว่า Response Series ครับ )



ทำความรู้จัก ProAc Studio 118

มาถึงจุดนี้ในด้านสิ่งใหม่ๆที่เห็นได้ชัดใน Studio 118 ที่พัฒนาต่อมาจาก Studio 115 นั้นก็คือ การเปลี่ยนไดรเวอร์เสียงกลางที่เป็นกรวยโพลีเมอร์ เคลือบสารสังเคราะห์ มาพร้อมกับดัสแค๊ปหัวกระสุน คู่กับ Soft Dome เสียงแหลมที่แปะฟองน้ำพร้อมสกรีนโลโก้ ProAc  นอกจากนั้นลักษณะโดยทั่วไปเหมือน Studio 115 ไม่มีผิดเพี้ยน ส่วน Logo ของลำโพงรุ่นใหม่ ที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมแปะอยู่กึ่งกลางลำโพง บริเวณขอบด้านล่าง  (แต่ผมเองนนั้นแอบชอบโลโก้เก่าของ ProAc มากกว่า เพราะมันสุดแสนจะสวยงามและคลาสสิกมากๆครับ)
และสิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของลำโพง ProAc คือ ทุกรุ่น ทุกตัว ผลิตด้วยมือจากช่างฝีมือในประเทศอังกฤษ ส่งผลให้งานตู้ของลำโพง ProAc สวยงามไร้ที่ติทุกตัวครับ




และรุ่นนี้มีความพิเศษที่ทาง Website ของ ProAc เองระบุไว้ชัดว่า ลำโพงตัวนี้ออกแบบมาให้เล่นง่ายกับแอปม์ Solid ที่มีกำลังขับไม่มากนัก หรือพูดง่ายๆว่าไม่เกี่ยงแอมป์นั้นเองครับ (ดูเหมือน ProAc ก็รู้ปัญหาของลำโพงตัวเองดี)




อุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้ในการทดสอบ 
1. เครื่องเล่น CD Marantz CD 53
2. สาย RCA ของ Monitor Kable (ปัจจุบันบริษัทนี้เปลี่ยนชื่อเป็น InAkustik)
3. Integrate Amp - Combridge Audio Azur 840A V2
4. สายลำโพง JPS Ultra Conductor 2 Single Wire
5. ลำโพง ProAc Studio 118 วางบนขาตั้ง Lovan A6


เสียงของ ProAc Studio 118 

สิ่งแรกเมื่อเปลี่ยนเจ้า ProAc Studio 118 เข้าไปแทนที่ ProAc Studio 140 MK2 สิ่งแรกที่สัมผัสได้ คือ ความอวบอ้วนกว่าของทุกโทนเสียง แต่ยังคงไว้ซึ่งลีลาอ่อนฉอย หวาน กระจ่างชัด พร้อมมิติทรวดทรงที่สวยงามตามสไตล์ ProAc อย่างครบถ้วน เข้าไกลความเป็น High-End สไตล์ Response มากยิ่งขึ้น  รวมทั้ง Dynamic ที่โดดเด่นของ ProAc ก็ดูเข้มข้มกว่ารุ่นเก่าอย่างชัดเจน และสิ่งที่ผมประทับใจนั้นก็คือ ปัญหาเบสล้นห้องมันหายไปอย่างสิ้นเชิง เหลือแต่เบสคุณภาพ ลึกๆ แน่ๆ ที่เป็นปัญหาหลักของการเปลี่ยนลำโพงในครั้งนี้

กล่าวโดยสรุปแล้ว ProAc Series ใหม่นั้น มีโทนเสียงที่อบอุ่นและฟังสบายขึ้น เล่นง่ายขึ้น และเข้าใกล้ความเป็น High End ดังเช่น Response มากยิ่งขึ้น ส่วนเสียงจะเป็นอย่างไรนั้นผมคงไม่อธิบายมากนัก เพราะมีการันตี 5 ดาวแดงจากนิตยสาร What Hi-Fi เป็นเครืองยืนยันคุณภาพ




ท่านใดสนใจหาเวลาเข้าไปลองฟังที่ปิยะนัสทุกสาขา เลือกจับกับแอมป์ตามยี่ห้อและแนวเสียงที่ท่านชื่นชอบ  แล้ว ProAc จะทำให้รู้ว่าแอมป์ตัวไหนว่าดีแล้ว จะดีขึ้นไปอีกเมือนได้ลองกับ ProAc Studio รุ่นใหม่ล่าสุดนี้ครับ



San Pinkaew
2016, November


ความคิดเห็น